เปรียบเทียบ 6 ยี่ห้อดังตู้สาขาโทรศัพท์ สำหรับปี 2568 (2025) คงเป็นตำถามแรก ๆที่จะนึกถึงเวลาต้องการติดตั้งระบบตู้สาขาโทรศัพท์ ว่าจะเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ยี่ห้อไหนดี โดยรุ่นเริ่มต้น สำหรับ SME แบบอนาล็อก และ IP PBX โดยในบทความนี้เราจะมีพูดถึง ตู้สาขา ยี่ห้อที่เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ในประเทศไทย ซึ่งตู้สาขาโทรศัพท์ สำหรับ SME หรือหน่วยงาน สาขา จะมีจำนวน คู่สายภายนอก และภายในไม่มาก ซึ่งโดยมากจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 4 คู่สายนอก และสำหรับคู่สายในจะอยู่ระหว่าง 8 ถึง 32 สายใน โดยมียี่ห้อดังต่อไปนี้
ตู้สาขาโทรศัพท์ ยี่ห้อแรกที่ข้อพูดถึงคือ Panasonic ซึ่งตอนนี้เลิกจำหน่ายแล้วนะครับ อาจจะมีเหลือค้าง stock ที่ตัวแทนจำหน่ายบางที่ แต่หาซื้อยากมากๆ แล้วครับ
Panasonic เป็นบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น มีสินค้าด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน และสินค้าสำหรับผู้ใช้องค์กร โดยในส่วน ตู้สาขาโทรศัพท์ Panasonic จะอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปกรณ์สื่อสารสำหรับองค์กร ซึ่งจะมีทั้ง ระบบตู้สาขาแบบ Analog , IP-PBX, เครื่องโทรศัพท์, ระบบ Fax ซึ่งตัวสินค้า Panasonic เองเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นเวลา นานจนอาจพูดได้ว่า เวลาจะซื้อตู้สาขา ต้องนึกถึง ตู้สาขา Panasonic เป็นอันดับต้น เรามาดูรายละเอียดรุ่น ที่มีขายอยู่ ณ ปัจจุบัน (2024) กันครับ
ระบบโทรศัพท์ เป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจ, คู่ค้า, ลูกค้า, เพื่อนหรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว ทั้งในและนอกที่ทำงาน
ระบบโทรศัพท์ตู้สาขา รุ่น KX-TES824 ที่ใช้ได้กับโทรศัพท์แบบคีย์และแบบธรรมดา เพื่อตอบรับกับธุรกิจและความต้องการส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดี
มาเริ่มที่ ตู้สาขา Analog Panasonic รุ่นเล็กสุด ยอดฮิต รุ่น KX-TES824BX ซึ่งมีพื้นฐานการใช้งานที่ 3 สายนอก ( 3Co.) และ 8 สายใน พร้อมทั้งการ์ดขยายการใช้งานได้สูงสุดเป็น 8 สาบนอก , 24 สายใน
ระบบถูกจัดมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานและความประหยัดสูงสุด โดยท่านสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ไร้สาย, ระบบตอบรับอัตโนมัติ, โมเด็ม, เครื่องรูดบัติเครคิต และเครื่องโทรสารเป็นต้น โดยทางพานาโซนิค ได้นำเสนอ ระบบโทรศัพท์ตู้สาขา รุ่น KX-TES824BX เพื่อตอบรับธุรกิจขนาดเล็กและสำนักงานภายในบ้านซึ่งต้องการระบบโทรศัพท์ที่ยืดหยุ่นได้และพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
- ระบบตอบรับอัตโนมัติในตัว (Built-In DISA)
- รองรับการแสดงหมายเลขโทรเข้าทั้งการเรียกจากสายภายนอกและภายใน (Caller ID)
- การโปรแกรมระบบโดยคอมพิวเตอร์ (PC Maintenance)
- มีระบบ Call Forward ทั้งคู่สายที่ไม่ว่าง/ว่างไม่รับสาย/ติดตามไปยังจุดต้องการ/โทรออกสายนอกอัตโนมัติ
- มีระบบUCD(Uniform Call Distribution) โดยแบ่งการรับสายภายในกลุ่มที่กำหนด(Call Centre)
- สามารถควมคุมการโทรออกจากเครื่องโทรศัพท์โดยกำหนดรหัสผ่าน4หลัก(Electronic Station Lock)
- สามารถประชุมทางโทรศัพท์พร้อมกันได้ถึง 5 สาย(5- party Conference)
- สามารถรองรับการติดตั้งชุดกริ่งประตู(doorphone) และ ชุดเปิดประตู(Door Opener)
- มีวงจร Caller ID โชว์เบอร์โทรเข้า (ติดตั้งเพิ่ม)
- มีแผงโอเปอเรเตอร์ตอบรับอัตโนมัติ ติดมากับตู้มาตราฐาน 1 วงจร ซื้อเพิ่มได้อีก 1 วงจร
- มีแผงวงจรสำหรับ Remote Maintenance สามารถโปรแกรม จากผู้ให้บริการ ผ่านคู่สายโทรศัพท์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
- สามารถกำหนด Day/Night/Lunch Mode
- ระบบรับฝากข้อความเมื่อไม่มีผู้รับสาย (Voice Mail)
- ระบบ Billing Porgram
มีดูรายละเอียดแบบเชิงลึกของรุ่นนี้กันครับ ว่าแต่ละฟังชั่นทำงานยังไงบ้าง
3-level Automatic Reception with Voice Guidance
ด้วยคุณสมบัติของ DISA ( Direct Inward System Access) ผู้ที่โทรเข้ามา สามารถเรียกไปยังหมายเลขภายในที่ต้องการโดยตรง ไม่ต้องผ่านพนักงานรับสาย ผู้เรียกสามารถกดเลขหมายเข้ามานังหมายเลขสายในที่ต้องการติดต่อได้โดยตรง หรือ จะเรียกเป็นกลุ่มสายใน โดยโทรศัพท์สายในภายในกลุ่มจะดังทันที สมาชิกในกลุ่มทุกคนสามารถรับสายได้ และด้วยระบบตอบรับอัตโนมัติแบบ 3 ระดับ จะช่วยทำให้สามารถบันทึกข้อความตอบรับแบบแยกตามแผนกหรือฝ่ายต่างๆ ได้อย่างสะดวกและด้วยคุณสมบัติพิเศษของ DIDA ตรวจสอบเครื่องโทรสาร (FAX) แล้วทำการส่งสัญญาณไปยังสายใน ที่กำหนดให้ต่อกับเครื่องโทรสารทำให้สามารถรับเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องมีสายนอกพิเศษ เพื่อรองรับโทรสารเฉพาะ
Caller ID Display on SLTs and APs (ต้องติดตั้งการ์ด Caller ID Card)และขอเปิดใช้ Caller ID กับทาง TOT
- การแสดงหมายเลขเรียดเข้า
- การควมคุมการใช้โทรศัพท์ให้ดียิ่งขึ้น
ระบบสามารถรองรับการแสดงเลขหมายเรียกเข้า (Caller ID) ทำให้สายในที่รับสายภายนอกหรือภายในจากโทรศัพท์แบบคีย์หรือโทรศัพท์ธรรมดาที่รองรับการแสดงหมายเลขสามารถมองเห็นหมายเลขของสายที่เรียกเข้าได้ โดยสามารถเก็บหมายเลขที่โทรเข้ามา 20 เลขหมายสุดท้าย (Personal Call Log) เฉพาะโทรศัพท์แบบคีย์ส่วนโทรศัพท์แบบอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละรุ่น และระบบสามารถเก็บหมายเลขเรียกเข้าไปที่ส่วนกลางได้ถึง 300 เลขหมาย (Common Call Log)
ราคาตู้สาขา Panasonic รุ่น KX-TES824 เริ่มต้นที่ 9,700 บาท สำหรับรุ่น 3 สายนอก 8 สายใน
Bozztel (บ๊อซเทล)
ตู้สาขาโทรศัพท์ Bozztel ทำตลาดมาในเมืองไทยกว่า 10 ปี จุดเด่นของยี่ห้อ Bozztel คือเป็นตู้สาขาที่มีฟังชั่นการใช้งานครบ แต่ราคาถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ เมื่อเทียบกับจำนวนคู่สายนอก และคู่สายใน โดยปัจจุบัน Bozztel มี รุ่นที่รองรับต่องแต่ 1 สายนอด ถึง 32 สายนอด และ 8 สายใน ถึง 256 สายใน ซึ่งเพียงพอสำหรับองค์กร ขนาดเล็กถึงกลาง และ ข้อดีของ ราคาที่ถูกทำให้ มีการนำตู้สาขา Bozztel มาใช้ใน รีสอร์ท โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ กันอย่างมาก เพื่อใช้เป็นลักษณะ Intercom โทรหากันภายใน
Zycoo (ไซคู)
Zycoo จะเน้นทำทางด้านตู้สาขา แบบ IPPBX อย่างเดียว โดยพัฒนาระบบมากว่า 10 ปี ทำให้มีประสิทธิภาพ การใช้งาน และฟังชั่นครบถ้วน Zycoo มีระบบ IPPBX ตั้งแต่ระดับ SME จนถึง Enterprise และ ยังมีรุ่นที่รองรับการทำ Callcenter รุ่นเลิกสุดของ Zycoo เป็นรุ่น CooVox-U20 รองรับ 32 เบอร์ภายใน มาพร้อม ช่องต่อ FXO แบบ 2 ช่อง
Excelltel เอ็กเซลเทล
Excelltel เอ็กเซลเทล เป็นผู้นำด้านตู้สาขาแบบ Analog จากประเทศจีน มีตั้งแต่รุ่นที่รองรับ 1 สายนอก 8 สายใน จนถึง 32 สายนอก 256 สายใน ราคาประหยัดเหมาะกับ สำนักงาน โรงแรม รีสอร์ท ที่ต้องการมีโทรศัพท์ ภายในใช้เท่าที่จำเป็น ไม่เน้นฟังชั่นมากมาย
LVswitch
เป็นผู้นำด้านระบบโทรศัพท์ แบบ IP PBX และระบบ IP Phone
NEC
NEC ล่าสุดตอนนี้ประกาศยุติการจำหน่ายตู้สาขาโทรศัพท์ PABX แล้วครับ โดยจะจำหน่ายถึงแค่สิ้นปี 2567 นี้ โดยลูกค้าจะสามารถสั่งซื้อตู้สาขาโทรศัพท์ รุ่น SL2100 และ SV9100 ได้แค่ภายในปี 2567 เท่านั้น